คุณคงไม่เชื่อสินะคะว่ามีวิธีจัดบ้านเพียงครั้งเดียว แต่ทำให้บ้านเราสะอาดตลอดไปได้ด้วย แต่มีจริงๆค่ะ โดยแนวคิดนี้มาจากหนังสือชื่อ “The Life-Changing Magic of Tidying Up.” โดย Marie Kondo หรือในชื่อหนังสือไทยคือ “ชีวิตดีขึ้นทุกๆด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว” โดย คนโด มาริเอะ ค่ะ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นหนังสือขายดีกว่า 2 ล้านก็อปปี้ทั่วโลกมาแล้ว เพราะฉะนั้น วันนี้เรามีรีวิวจากผู้ทดลองจริงมาแล้ว จากคุณ Alexandra Churchill จากเว็บ Martha Stewart Living มาให้ทุกคนอ่านกันค่ะ ^_^

Alexandra กล่าวว่า เธอเป็นนักเก็บสมบัติตัวยง เธอเก็บสะสมทุกอย่าง ไม่ว่าจะขนมคุ๊กกี้จากตลาดเวลาเธอไปท่องเที่ยว แม้แต่ กระดาษ ดินสอ ปากกาสีต่างๆ รวมถึงเธอชอบสะสมขวดเก่าๆสวยๆ รูปปั้นนก และหนังสือต่างๆด้วย ดังนั้น เมื่อเธอได้ยินถึงพลังของหนังสือเล่มนี้ เธอก็คิดว่ามันเป็นเล่มที่เหมาะสมกับเธอมากทีเดียว

ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้คือคุณคมมาริ (Konmari) โดยเธอยังมีบริการรับจัดบ้านให้ผู้อื่นตามหลักในหนังสืออีกด้วย และสำหรับคนที่ทำตามหนังสือของเธอจนประสบความสำเร็จจะเรียกตัวเองว่า Konvert และพวกเขาจะโชว์รูปก่อนหลังการจัดเก็บอีกด้วย ซึ่งเหล่า Konvert นั่นเป็นเหล่าบุคคลทำได้จากการอ่านหนังสือเธอเท่านั้น หากใครจะให้คุณ Kondo ไปจัดบ้านให้จริงๆละก็ต้องรอนานคิวถึง 3 เดือนเลยทีเดียวค่ะ

สำหรับคุณ Kondo เธอคิดว่าความระเบียบเรียบร้อยคือหัวใจหลักของการใช้ชีวิตในทุกๆวัน แถมเธอยังใส่หลักฮวงจุ้ยเข้าไปในวิธีการของเธออีกด้วย และกำจัดความเชื่อเก่าๆ เช่น การทำความสะอาดคือการทำทีละเล็กละน้อยทุกวัน เก็บของไว้เป็นฤดูกาล เพราะหมดยุคก็เปลี่ยน หรือทิ้งของ1ชิ้นทุกครั้งที่ซื้อของใหม่1ชิ้นเข้าบ้าน เป็นต้น เธอให้เหตุผลว่า แม้วิธีเหล่านี้เหมือนจะช่วยได้จริง แต่จริงๆแล้วมันเป็นเหตุผลที่ทำให้บ้านของเรารกนั่นเอง

ดังนั้น เธอจึงสนับสนุนหลักง่ายๆนี้ข้อเดียว คือ เก็บแค่ของที่ “ทำให้เรามีความสุข” (หรือ Spark joy) แล้วทิ้งทุกอย่างที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตของคุณมีความสุข แต่ฟังดูพูดง่ายใช่มั้ยคะ? แต่มันทำได้จริงค่ะ

คุณ Alexandra กล่าวเพิ่มอีกว่า เธอได้ลองทำวิธีนี้แล้ว ในเวลาวันหยุดเสาร์อาทิตย์ แค่ 3 อาทิตย์ (เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงฤดูหนาว ทำให้เธอไม่อยากไปไหนเลย :p) แล้วเธอก็พบว่าบ้านของเธอสะอาดขึ้นเป็นกอง เพียงแค่จัดบ้านแค่ครั้งเดียว! เพราะฉะนั้น เธอมีหลักการง่ายๆ 4-5 ข้อ ที่เธอใช้แล้วเห็นผลจริงมาให้ดูกันค่ะ

  1. จัดเตรียมห้องสำหรับสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคุณเท่านั้น (และไม่ใช่แค่สิ่งของจับต้องได้เท่านั้นนะคะ)

ก่อนที่คุณจะเคลื่อนย้ายของซักหนึ่งสิ่ง วิธีแบบ Kondo คือขอให้คุณจินตนาการภาพชีวิตในฝันของคุณก่อนค่ะ ว่าคุณอยากมีบ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อย “อย่างไร?” ถ้าคุณอยากได้ตู้เสื้อผ้าที่เรียบร้อย หรือผนังห้องแสนสะอาด ถือว่าง่ายเกินไปค่ะ ให้คิดลึกซึ้งมากกว่านั้น ว่า “ชีวิตที่เป็นระเบียบเรียบร้อยของคุณมีความหมายว่าอย่างไร?” บางทีอาจหมายถึงการมีบ้านที่พร้อมสำหรับปาร์ตี้ให้เพื่อนสนิท มีพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ หรือดูแลลูกหลาน เป็นต้น สำหรับคุณ Alexandra ตอบว่าเธออยากมีห้องที่เธอสามารถสร้างสรรค์งานต่างๆได้เต็มที่ เธออยากจะอบขนม วาดรูป เพ้นท์ผ้าแคนวาส(ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่เธอเลิกทำตั้งแต่ย้ายมานิวยอร์ก) สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลสำคัญทั้งนั้นค่ะ เพราะฉะนั้น ลองคิดของคุณดูนะคะ ว่าคุณอยากจะมีพื้นที่เอาไว้สำหรับอะไรที่คุณรัก?

2. เก็บเฉพาะของที่ทำให้คุณมีความสุข

สิ่งแรกที่คุณ Konda แนะนำให้ทำคือการพิจารณาสิ่งของค่ะ ว่าสิ่งนั้น ทำให้คุณมีความสุขหรือไม่ ไม่ใช่แค่มองๆดูผ่านๆนะคะ แต่ให้หยิบมันขึ้นมาวางในมือ มองดูมันอย่างละเอียด แล้วถามตัวเองว่า การครอบครองขอบชิ้นที่ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร? และคุณจะรู้สึกอย่างไรหากคุณจะทิ้งมันไปหายไปตลอดกาล?

สิ่งของที่ทำให้คุณมีความสุขไม่เป็นต้องเป็นอะไรที่ซีเรียสจริงจังค่ะ สำหรับคุณ Kondo เธอมีเสื้อลาย Kiccoro เก็บไว้หนึ่งตัว แม้คนรอบข้างจะบอกว่ามันเก่ามาก ทิ้งไปซะเถอะ แต่คุณ Kondo ก็ยังเก็บไว้เพราะเธอชอบมันมาก เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นของฟังเสียงคนรอบข้าง หรือใช้สายตาสังคมวัด ชิ้นไหนที่ทำให้คุณมีความสุข ก็เก็บมันไว้ เพราะการใส่มันทำให้คุณมั่นใจและเพิ่มพูนความสุขของคุณนั่นเองค่ะ

3. “ซักวัน” ไม่มีวันมาถึง

นี่เป็นหนึ่งข้อที่เรามักโกหกตัวเองอยู๋ทุกวันค่ะ เรามีเหตุผล(หรือข้ออ้าง)มากมายในการเก็บของ เพราะเรา”จำเป็น”ต้องมีมัน ไม่ว่าจะเผื่อเวลาทำโปรเจคใหญ่ หรือเผื่อพายุเข้าแล้วไฟดับ เราก็เลยเก็บของพวกนั้นเพราะ”เผื่อจะได้ใช้”นั่นเอง จริงๆแล้ว คำว่า “จำเป็น” ต่างจากคำว่า “รัก” นะคะ

ลองจินตนาการถึงวันที่ต้องใช้มันจริงๆขึ้นมาค่ะ สำหรับตัวคุณ Alexandra เอง ของพวกนี้คือคลิปหนีบนิตยสาร กองเชือกต่างๆ หรือพวกเครื่องสำอางค์ที่ซื้อมาตุนไว้ เธอลองคิดถึงเหตุผลที่แท้จริงในการเก็บของพวกนี้ ซึ่งก็คือ “เสียดาย” ที่ต้องทิ้งนั่นเอง เธอไม่ได้รัก หรือไม่ได้จำเป็นจริงๆเลย แต่แค่ไม่อยากทิ้งมันไปเท่านั้น เธอจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเก็บมันไว้ค่ะ แน่นอนว่า มันอาจจะมีประโยชน์ในวันนึงก็ได้ แต่เทียบกับที่เราต้องทำให้บ้านรกและแก้นิสัยเดิมๆไม่ได้นั้น หรือในอนาคตเราอาจจะไม่ได้ใช้มันด้วยซ้ำ มันไม่คุ้มที่จะเก็บของกองพะเนินเหล่านี้ไว้เลยค่ะ เพราะฉะนั้น ตัดใจทิ้งของเหล่านี้ไปเลยค่ะ

4. ปฏิบัติกับสิ่งของที่เราเลือกเก็บ เสมือนว่าพวกมันมีชีวิต

ฟังดูเป็นเรื่องแปลกๆหน่อย แต่ข้อนี้มีคำอธิบายค่ะ ลองคิดถึงการใช้ชีวิตปกติของเรานะคะ เราซื้อเสื้อผ้าใหม่แต่ละครั้ง ก็โยนเก็บเข้าไปในตู้ ตัวไหนใส่บ่อยก็อยู่แนวหน้า ตัวไหนไม่ค่อยได้ใส่ ก็โยนเข้าไปไว้ด้านหลัง เป็นแบบนี้อยู๋ทุกวัน ซึ่งเป็นที่มาหลักของความรกนั่นเองค่ะ ดังนั้น คุณ Konmari แนะนำว่า ให้หยิบเสื้อผ้าออกจากตู้ทีละชิ้น นำมาวางที่พื้น แล้วพิจารณาดูว่าเราจะอยากจะเก็บมันหรือไม่ วิธีนี้นี้ทำให้เหล่าลูกค้าของเธอช็อคไปแทบทุกรายค่ะ (ฮา)

เพื่อป้องกันปัญหานี้แต่เนิ่นๆ เธอแนะนำให้คุณโชว์ความรักกับเสื้อผ้าของคุณซักหน่อย โดยเก็บเสื้อผ้าแบบที่คุณมองเห็นชัดเจนทุกตัว ให้พื้นที่เสื้อผ้าตัวโปรดของคุณได้หายใจบ้าง ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณต้องมีพื้นที่มากพอในการเก็บเสื้อผ้าทุกตัวในลักษณะนี้นั่นเองค่ะ

5. แล้วสิ่งของที่คุณเลือกเก็บ จะบอกความเป็นตัวคุณ

คุณ Kondo กล่าวว่า เหตุผลที่เราไม่สามารถทิ้งของชิ้นหนึ่งๆได้มีอยู่ 2 ข้อคือค่ะ คือความกลัวต่ออนาคต และ การพยายามเก็บอดีตไว้ สำหรับตัวคุณ Alexandra เองเหตุผลของเธอคืออย่างหลังค่ะ ในลิ้นชักของเธอเต็มไปด้วยของที่ตัดใจไม่ได้ เป็นของเก่าๆที่เธอได้มาในแต่ละวันที่น่าจดจำ เช่น เปลือกหอยเพนท์ลายจาก Clinque Terre กระป๋องขนมเปล่าจาก Harrods ที่อังกฤษ ถ้วยน้ำชาจาก Cambridge สมัยที่เธอเรียนต่อต่างประเทศ ถุงเก็บเศษแก้วริมทะเลที่เธอเคยเก็บกับพ่อ สร้อยข้อมือคู่เพื่อนวัยเด็ก และแน่นอนว่าต้องมี รูปอีกเป็นกระตั๊กที่สีซีดจนเหลืองเพราะเวลาผ่านมาหลายปีด้วยค่ะ

สำหรับเธอแล้ว ของเหล่านี้มีพลังต่อเธอมาก เพราะทุกชิ้นมีความทรงจำแต่ละช่วงชีวิตซ่อนอยู่ แต่ของเหล่านี้ไม่ได้ผลอะไรกับชีวิตปัจจุบันอีกต่อไป และคุณ Kondo แนะนำให้เราชื่นชมกับปัจจุบันกาลมากกว่า ดังนั้น เธอจึงใช้พลังของตัวเองในการกำหนดปัจจุบัน แทนที่สิ่งของเหล่านี้มาควบคุมชีวิตเธออีกต่อไปค่ะ

ที่มา : https://www.marthastewart.com/1106009/konmari-trendy-new-organizing-method

ภาพเล่มหนังสือภาษาไทย : Se-ed ~

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Loading...